kunyingtal
วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เว็บแบนเนอร์ (อังกฤษ: web banner) เรียกโดยย่อว่า แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์
ตัวอย่างเว็บแบนเนอร์ทั่วไป ขนาด 468×60 พิกเซลเว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า impression และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า click through ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server)
เมื่อผู้โฆษณาตรวจดูบันทึกการดาวน์โหลด และทราบว่าผู้เข้าชมนั้นได้เข้าเยี่ยมชมเว็บของผู้โฆษณาโดยการคลิกแบนเนอร์ ผู้โฆษณาจะส่งค่าตอบแทนในอัตราเล็กน้อยให้กับผู้ที่รับฝากโฆษณา ผู้ให้บริการเนื้อหาสามารถนำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าตอบแทนนี้ไปจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อหนึ่ง
เนื้อหาที่ต้องการสื่อในเว็บแบนเนอร์ก็คล้ายกับป้ายโฆษณาในชีวิตจริง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปทราบว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าว่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ใด เว็บแบนเนอร์นั้นอาจจะให้ผลของการโฆษณาเผยแพร่ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และความสนใจของผู้เยี่ยมชม
แต่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตหลายคนก็กลับมองว่าแบนเนอร์โฆษณาเหล่านี้เป็นที่รบกวนอย่างมาก เพราะว่าเว็บแบนเนอร์จะแย่งจุดสนใจออกไปจากเนื้อหาจริง ๆ ที่อยู่ในหน้าเว็บนั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของแบนเนอร์ตั้งใจที่จะดึงดูดความสนใจอยู่แล้วจึงอาจทำให้รบกวนการเล่น หรือด้วยเหตุผลว่าสิ้นเปลืองแบนด์วิดท์ โดยเฉพาะกับแบนเนอร์ที่เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ เว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักจะมีฟังก์ชันให้ปิดหน้าต่างป๊อปอัปหรือบล็อกรูปภาพจากเว็บไซต์ที่โฆษณา หรืออีกทางหนึ่งคือเรียกใช้งานผ่านพร็อกซีที่สามารถบล็อกโฆษณาได้ เช่น ไพรว็อกซี (Provoxy)
ตัวอย่างเว็บแบนเนอร์ทั่วไป ขนาด 468×60 พิกเซลเว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า impression และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า click through ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server)
เมื่อผู้โฆษณาตรวจดูบันทึกการดาวน์โหลด และทราบว่าผู้เข้าชมนั้นได้เข้าเยี่ยมชมเว็บของผู้โฆษณาโดยการคลิกแบนเนอร์ ผู้โฆษณาจะส่งค่าตอบแทนในอัตราเล็กน้อยให้กับผู้ที่รับฝากโฆษณา ผู้ให้บริการเนื้อหาสามารถนำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าตอบแทนนี้ไปจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อหนึ่ง
เนื้อหาที่ต้องการสื่อในเว็บแบนเนอร์ก็คล้ายกับป้ายโฆษณาในชีวิตจริง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปทราบว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าว่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ใด เว็บแบนเนอร์นั้นอาจจะให้ผลของการโฆษณาเผยแพร่ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และความสนใจของผู้เยี่ยมชม
แต่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตหลายคนก็กลับมองว่าแบนเนอร์โฆษณาเหล่านี้เป็นที่รบกวนอย่างมาก เพราะว่าเว็บแบนเนอร์จะแย่งจุดสนใจออกไปจากเนื้อหาจริง ๆ ที่อยู่ในหน้าเว็บนั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของแบนเนอร์ตั้งใจที่จะดึงดูดความสนใจอยู่แล้วจึงอาจทำให้รบกวนการเล่น หรือด้วยเหตุผลว่าสิ้นเปลืองแบนด์วิดท์ โดยเฉพาะกับแบนเนอร์ที่เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ เว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักจะมีฟังก์ชันให้ปิดหน้าต่างป๊อปอัปหรือบล็อกรูปภาพจากเว็บไซต์ที่โฆษณา หรืออีกทางหนึ่งคือเรียกใช้งานผ่านพร็อกซีที่สามารถบล็อกโฆษณาได้ เช่น ไพรว็อกซี (Provoxy)
ตัวอย่างเว็บแบนเนอร์ทั่วไป ขนาด 468×60 พิกเซล
ตัวอย่างไตเติ้ลรายการ กลมกิ๊ก
สื่อไตเติ้ลรายการ" (Title)
ส่วนประกอบรายการ (Program components) อันได้แก่ ไตเติ้ล (Title) ตัวอย่างรายการ (Menu) อินเตอร์ลูดหรือคีย์ซีน (Interlude / Key scene) และท้ายรายการ (end credit)
คุณลักษณะต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นไตเติ้ล ได้แก่
1.รูปแบบการนำเสนอ
1.1 การใช้ชื่อรายการ มีการใช้เฉพาะชื่อรายการเท่านั้น
1.2 การใช้สัญลักษณ์ เป็นสื่อที่ใช้แทนความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
1.3 การนำเสนอบุคคล
1.4 การใช้ภาพแสดงเนื้อหา
1.5 การสร้างโครงเรื่อง
2.ลักษณะของภาพ
2.1 ชนิดภาพ
2.2 มุมมองภาพที่ปรากฏมักเป็นภาพประเภท
-Simple Shot คือเป็นภาพที่มีเพียงวัตถุเท่านั้นที่เคลื่อนไหว
-Developing Shot คือเป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
-Complex Shot คือเป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
2.3 ลำดับภาพ คือ วิธีการเรียงร้อยภาพเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสื่อสารไปยังผู้ชม
- การซ้อนภาพ
- การตัดภาพ
- การจางซ้อนภาพ
- การกวาดภาพ
3.ทัศนสารที่ใช้สร้างเรื่อง
ไตเติ้ลรายการมีการใช้องค์ประกอบพื้นฐานทางทัศนสารอันได้แก่ พื้นที่ เส้น รูปร่าง ความเข้มสี การเคลื่อนไหว และจังหวะ
3.1 พื้นที่
3.2 เส้น
3.3 รูปร่าง
3.4 สีและความเข้มสี
3.5การเคลื่อนไหวและจังหวะ
4.ตัวอักษรชื่อรายการ
ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของไตเติ้ลรายการ ขนาดตัวอักษรที่นิยมใช้คือ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 6 ของความสูงของจอโทรทัศน์ ตัวอักษรรายการมักใช้สีพื้นเพียงสีเดียว และมีการใช้ขอบตัวอักษรชื่อรายการและความหนาของตัวอักษรชื่อ
5.ลำดับการนำเสนอ
มีโครงสร้างดังนี้ สถานี - ร่วมกับ - บริษัทผู้ผลิตรายการ/สถาบัน - ผู้สนับสนุนรายการ - เสนอ - ชื่อรายการ - ผู้ดำเนินรายการ/พิธีกร/นักแสดง - ทีมงาน
ทั้งนี้อาจมีการลดหรือเพิ่มบางโครงสร้างตามประเภทของรายการแตกต่างกันไป
6.การใช้เสียง
การใช้เสียงในไตเติ้ลรายการ เสียงที่พบในไตเติ้ลรายการมี 4 ลักษณะ คือ
-เสียงดนตรี
-คำพูดไตเติ้ลรายการ
-เพลง 3 ลักษณะ คือ เพลงแนะนำชื่อรายการ เพลงแนะนำรายการ เพลงแนะนำเนื้อหารายการ
-เสียงประกอบ จะใช้ประกอบคำพูดดนตรีหรือเพลงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์
7.ความยาว
ส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 10-60 วินาที ไม่จำกัดว่าเป็นรายการขนาดสั้นหรือยาว หรือรายการประเภทใดก็แล้วแต่
8.ลีลา ของไตเติ้ลรายการ
สีแดง แสดงความตื่นเต้นเร้าใจ
สีเหลือง ดูสดใส ศักดิ์ศรี
น้ำเงิน หนักแน่น จริงจัง
ฟ้า สุขสบาย โปร่งใส
เขียว สดชื่นเป็นธรรมชาติ
ม่วง มีเสน่ห์ ลึกลับ
ชมพู นุ่มนวล
สีสันหลากหลาย ตลก สดใส สนุกสนาน
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
Jal2aN-Cp: "โรงพยาบาลสีชมพู"
Jal2aN-Cp: "โรงพยาบาลสีชมพู": "ประวัติ โรงพยาบาลสีชมพูโรงพยาบาลสีชมพูเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ตั้งอยู่ เลขที่ 140 ถนนศูนย์ราชการ ตำบลวังเพิ่ม อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น (ติด..."
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การใช้ภาพที่ไม่คาดคิด
1. การอุปมาทางการเห็น (Visual Metaphor)

2. การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism)

3. การสร้างความผิดปกติจากของจริง (Violating Reality)

4. การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
(Morphing, Blending and Merging)

5. การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย
(Subjective Camera)

6. การล้อเลียน (Visual Parodies

7. ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ (Unusual Size)

2. การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism)

3. การสร้างความผิดปกติจากของจริง (Violating Reality)

4. การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
(Morphing, Blending and Merging)

5. การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย
(Subjective Camera)

6. การล้อเลียน (Visual Parodies

7. ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ (Unusual Size)

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1.ชื่อ สำนักงานประกันสังคม
2.ข้อมูลเบื้องต้น
- ปัจจุบันการประกันสังคมได้รับการรับรองในองค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ ได้กำหนดเป็นมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศในรูปของอนุสัญญา และข้อแนะหลายฉบับ อนุสัญญาเหล่านี้ได้รับการให้สัตยาบันจากประเทศสมาชิก จำนวนมาก โดยเฉพาะอนุสัญญาฉบับที่ 102 ค.ศ. 1952 ได้วางมาตรฐาน ขั้นต่ำในเรื่องเกี่ยวกับการประกันสังคมเอาไว้ มาตรฐานที่อนุสัญญาฉบับนี้ กำหนดไว้ คลุมถึงเรื่องต่าง ๆ 9 เรื่อง คือ การรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย การว่างงาน วัยชรา การบาดเจ็บในงาน ครอบครัว การคลอดบุตร การไร้ สมรรถภาพ และผลประโยชน์ของผู้ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ เช่น หญิงม่ายหรือเด็กกำพร้า...
3.วัตถุประสงค์
-สร้างการรับรู้ข้อดีของประกันสังคม
-กลุ่มเป้าหมายกายภาพ จินตภาพ
4.กลุ่มเป้าหมายหลัก
-ชาย/หญิง อายุ 20 ปีขึ้นไป

5.Concept
"ประกันสังคมประกันชีวิต"
6.Support
-ประกันสังคมจะทำให้เรามีความมั่นใจได้ว่าชีวิตเราได้มีการทำประกันไว้ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดๆ เช่น อุบัติเหตุ อุทกภัย คนชรา
เราก็จะมีเงินทุนสำรองจากประกันสังคม
7.Mood & Tone /Personality อารมณ์ และความรู้สึก
-อบอุ่น สุขใจ ในการบริการ
8.Desired response ผลตอบสนอง
-กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงผลที่ได้รับ เช่น ค่ารักษาพยาบาล
-กลุ่มเป้าหมายมั่นใจประสิทธิภาพ
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์
การสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง
(ผู้ส่งสาร)ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่างๆ

เทคนิคการนำเสนอ
- การนำเสนอจะประสบความสำเร็จใดก็ต่อเมื่อ...ผู้ฟังเกิดการยอมรับและพึงพอใจ จึงต้องวิธีการสร้างสรรค์งานโฆษณา ซึ่งเป็นกระบวนการสื่อสารข้อมูล
- แนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานโฆษณา
การสร้างสรรค์งานโฆษณาเป็นการคิดค้นสร้างสรรค์งานโฆษณา เพื่อให้ข่าวสารหรือโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความอยากได้และทดลองใช้สินค้าที่
โฆษณา
โฆษณาที่ดีต้องเข้าใจต้องเข้าใจว่าผู้บริโภคต้องการซื้อไม่ใช่ผลิตภัณฑ์
- การสร้างสรรค์ต้องมีหลัก
- ความตรงประเด็น
- มีเอกลักษณ์
- สร้างผลกระทบที่ดี
- มีความเข้าใจ
- ชัดเจนน่าเชื่อถือ
- มีเหตุผลและสร้างอารมณ์
- การสร้างสรรค์งานโฆษณาให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
1. การวางกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์
2. การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์
3. การสร้างสรรค์ผลงานให้โดดเด่น มีประสิทธิภาพและเหมาะสม

การนำเสนอข้อมูล
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน พัฒนาการคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีขีดความสามารถสูงขึ้น คำนวณได้เร็ว และยังแสดงผลในแบบรูปภาพได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานในระดับส่วนตัวมากมาย เช่น การสร้างเอกสาร สามารถจัดพิมพ์เอกสารที่มีความสวยงาม พิมพ์เอกสารที่เป็นตาราง รูปภาพ หรือการจัดรูปแบบเอกสาร เพื่อนำเสนอได้ดี ยังมีในรูปแบบตารางคำนวณที่เรียกว่า สเปรดชีต หรือ อิเล็กทรอนิกส์สเปรดชีต ตารางคำนวณมีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้สูง คำนวณตามฟังก์ชันต่างๆ ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม สามารถสร้างรูปกราฟแบบต่างๆ และนำเสนอผลจากตัวเลขในรูปแบบที่เป็นรูปกราฟเพื่อความเข้าใจที่ดีได้
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกราฟิกส์ที่ใช้ในการนำเสนอผลงานโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ โปรแกรมนำเสนอผลงานสามารถเขียนกราฟและภาพกราฟิกส์ที่สวยงาม เพื่อใช้ในการแสดงผลได้ดี มีผู้นิยมใช้มากเพราะใช้งานได้ง่าย มีคุณภาพ ประกอบกับภาพแสดงผลในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายภาพ เพื่อนำเสนอในห้องประชุม หรือนำเสนอต่อบุคคลจำนวนมากได้ ในการนำเสนอผลงานจึงต้องมีหลักการ และการเลือกรูปภาพ ให้เหมาะสม เรามีรูปแบบของกราฟหลากหลายรูปแบบ

การทำแบนเนอร์โฆษณา (banner ads) ได้เกิดขึ้นมาเมื่อปี 2537 ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ในวงการตลาดออนไลน์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ได้หันมาใช้ banner ads เป็นจำนวนมาก เพื่อ โปรโมทเว็บไซต์ สินค้า และ บริการของตัวเอง
การทำแบนเนอร์โฆษณานั้น มีประโยชน์อย่างน้อย 3 อย่างด้วยกัน คือ:-
1.) ดึงดูดใจให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ กดที่แบนเนอร์โฆษณา เข้าไปดูเว็บไซต์ของผู้ลงโฆษณา ซึ่งเราจะพบเห็นการโฆษณาในรูปแบบนี้กับ affiliate program และ pay per click บางตัว เช่น Google AdSense เป็นต้น
2.) โลโก้แบนเนอร์โฆษณา ยังสามารถช่วยเราสร้างแบรนด์ให้กับเราได้อีกทางหนึ่ง เมื่อผู้เยี่ยมชมพบเห็นโลโก้แบนเนอร์โฆษณาของเรา ปรากฏอยู่ในที่ต่าง ๆ และเขารู้จักเว็บไซต์ของเรามากขึ้น จาก การทำแบนเนอร์โฆษณา และ ยังช่วยบอกกันปากต่อปากไปเรื่อย ๆ
3.) การออกแบบโลโก้แบนเนอร์ ไว้เพื่อใช้ โปรโมตเว็บไซต์ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของเราได้ เพราะแสดงให้คนอื่นเห็นว่า เราให้ความสนใจต่อรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งแม้จะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ก็ตาม ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ของเรา ย่อมเกิดความไว้วางใจที่จะใช้บริการสินค้า และ บริการของเราตามมา
ตัวอย่าง Web Banner การโฆษณาสินค้าผ่าน web banner จะต้องมีความโดดเด่น น่าสนใจ
มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถดึงดูงผู้คนให้เข้ามาชมได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)